วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นวารสารราย 3 เดือน เผยแพร่ปีละ 4 ฉบับ เปิดรับบทความวิชาการเพื่อการบริการสังคมจากทุกสาขาวิชา ในรูปแบบบทความวิจัย บทความปริทัศน์ กรณีศึกษา บทความเชิงนโยบาย และบทความรับเชิญที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องหรือเป็นผลมาจากการปฏิบัติการจริงกับชุมชน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ | ||
|
||
เกณฑ์การพิจารณาบทความ | ||
วารสารจะรับพิจารณาบทความวิชาการเพื่อสังคม
ที่เน้นการประยุกต์วิชาการเพื่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง (Change) ในสังคมหรือชุมชนเป้าหมาย
โดยมีโครงสร้างหัวข้อในบทความดังนี้
- สถานการณ์ที่เป็นอยู่เดิม - กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงและการยอมรับของชุมชนเป้าหมาย - ความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่ใช้ - สถานการณ์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม - ผลกระทบและความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้บทความซึ่งเสนอเพื่อขอตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่ ไม่เคยเสนอขอตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในเอกสารจากการประชุมวิชาการ วารสารฉบับอื่นๆ มาก่อน |
||
|
||
ขั้นตอนการรับต้นฉบับและพิจารณาบทความ | ||
ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ | ||
1) รับต้นฉบับจากผู้เสนอบทความทาง Email : abctrfjournal@gmail.com และผ่านระบบ ThaiJo (https://www.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal)
2) กองบรรณาธิการพิจารณาเบื้องต้นว่าบทความอยู่ในขอบข่ายเป้าหมายของวารสารหรือไม่ 3) กองบรรณาธิการเตรียมต้นฉบับพร้อมแบบฟอร์มสำหรับการประเมิน จัดส่งยังผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน พิจารณาให้ความเห็นว่าควรรับลงตีพิมพ์หรือไม่ รวมทั้งอาจให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงแก้ไข และจัดส่งผลการประเมินยังผู้เขียนบทความ โดยทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้เขียนบทความ จะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) 4) หลังจากที่ผู้เขียนได้ปรับปรุงแก้ไขบทความส่งกลับมายังกองบรรณาธิการพร้อมคำชี้แจงการปรับปรุงแก้ไขแล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาในขั้นสุดท้าย ว่ามีการปรับปรุงแก้ไขครบถ้วนตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ หากเห็นว่าครบถ้วนเหมาะสมก็จะตอบรับตีพิมพ์โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอีก แต่หากไม่ครบถ้วนจะมีการแจ้งกลับยังผู้เขียนเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติมอีกครั้งหรืออาจปฏิเสธการตีพิมพ์ 5) กองบรรณาธิการจัดเตรียมบทความตามรูปแบบวารสาร แล้วส่งกลับให้ผู้เขียนตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนทำการรวมเล่มวารสารเพื่อการเผยแพร่ออนไลน์ผ่านระบบ ThaiJo และเว็บไซต์ http://abcjournal.trf.or.th |
||
รูปแบบของการเขียนบทความ | ||
1) ต้นฉบับจากไฟล์ Microsoft Word 97 ขึ้นไป และไฟล์ PDF ความยาว 20-25 หน้ากระดาษ A4 อักษรฟอนต์ TH Niramit AS หรือ TH SarabunPSK ขนาด 14 point อาจมีภาพ ตาราง แผนผังหรือแผนภูมิประกอบ ในกรณีภาพประกอบ ต้องเป็นไฟล์ JPEG หรือ PNG ขนาดใหญ่กว่า 1 MB
2. องค์ประกอบของบทความ 2.1) ชื่อบทความ ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ 2.2) ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนหลัก สาขาวิชา สถาบันที่สังกัด และที่ตั้งของสถาบัน ของผู้เขียนทุกท่าน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงที่อยู่อีเมลของผู้เขียนหลัก 2.3) บทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 250-300 คำ 2.4) คำสำคัญ (Keyword) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประมาณ 3-5 คำ 2.5) บทนำ บริบทที่นำไปสู่ที่มาของงานวิจัย 2.6) เนื้อหา เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาคือ การระบุสถานการณ์ที่เป็นอยู่เดิม กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงและการยอมรับของชุมชนเป้าหมาย ความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่ใช้ สถานการณ์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผลกระทบและความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลง |
||
|
||
รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาและอ้างอิงในบรรณานุกรม | ||
1. การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (author-date for in-text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ตามด้วยปีที่พิมพ์และเลขหน้าเอกสาร หากจำเป็น ตัวอย่าง - Kumar & Nair (2004) - (Knodel et al., 2016) 2. การอ้างอิงในบรรณานุกรม ใช้วิธีการอ้างอิงตามรูปแบบ APA (6th Edition) ดังนี้ 2.1 กรณีอ้างอิงบทความจากวารสาร ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์).ชื่อบทความ.ชื่อวารสาร, ปีที่(เล่มที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. ตัวอย่าง - MacDonald, C. (2012). Understanding participatory action research: A qualitative research methodology option. Canadian Journal of Action Research, 13(2), 34-50. - Sirisathitkul, C. (2014). Abolishment of mythology for publishing in the international journal. Area Based Development Research Journal, 6(5), 121-125. (in Thai). 2.2 กรณีอ้างอิงจากหนังสือ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี)). เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. ตัวอย่าง - Bhatta, B. (2010). Analysis of urban growth and sprawl from remote sensing data. Heidelberg, Germany: Springer-Verlag. 2.3 กรณีอ้างอิงจากเอกสารวิชาการ รายงาน หรือวิทยานิพนธ์ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชื่อมหาวิทยาลัย, ชื่อคณะ, ชื่อสาขาวิชา. ตัวอย่าง - Athikom, S. (2007). Effect of accuracy training in two - goal shooting models. (Master' s thesis) Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University. (in Thai). 2.4 กรณีอ้างอิงจาก website ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี, จาก http://. ตัวอย่าง - Ministry of Tourism and Sports. (2016). Domestic tourism statistics (classify by region and province). Retrieved October 10, 2017, from: http://www.mots.go.th. (in Thai). - หมายเหตุ - ผู้เขียนมากกว่า 1 ท่าน ใช้ “,” คั่นระหว่างชื่อผู้เขียนแต่ละท่าน และใช้ “, &” ก่อนชื่อผู้เขียนท่านสุดท้าย - ผู้เขียนเท่ากับหรือมากกว่า 8 ท่าน ใส่ชื่อผู้เขียนท่านที่ 1-6 ..., & ผู้เขียนท่านสุดท้าย |
||
|
||
การจัดส่งบทความ | ||
ผู้เขียนสามารถส่งบทความทาง Email : abctrfjournal@gmail.com และผ่านทางระบบ ThaiJo (https://www.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal) กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิไปยังผู้เขียนบทความภายในระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ หลังจากได้รับบทความ
|
||
ที่อยู่สำหรับติดต่อ | ||
วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160; Email : abctrfjournal@gmail.com http://abcjournal.trf.or.th ; https://www.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal |