ปีที่10 ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม 2561

การเขียนบทความวิจัยเผยแพร่ในวารสารวิชาการมีขนบที่คล้ายคลึงกัน รูปแบบที่วารสารจำนวนมากกำหนดคือ แบ่งส่วนของบทความเป็น 1) บทนำ 2) วิธีการวิจัย 3) ผลการวิจัยและอภิปรายผล 4) สรุปและข้อเสนอแนะ ในปี พ.ศ. 2558 วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดย รศ.ดร.กาญจนา แก้วเทพ บรรณาธิการในขณะนั้น ได้นำแนวคิดจากประกาศ การกำหนดตำแหน่งวิชาการรับใช้สังคม ปี 2556 ของ ก.พ.อ. มาสร้างทางเลือกให้ผู้เขียนสามารถจัดรูปแบบบทความตามโครงสร้างใหม่ ทำให้วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นวารสารแรกที่เผยแพร่บทความที่แบ่งส่วนเป็น 1) สภาพการณ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2)การมีส่วนร่วมและการยอมรับของสังคมเป้าหมาย 3) กระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น 4)ความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่ใช้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น 5)การคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว 6)การประเมินผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และ 7) แนวทางการติดตามและธำรงรักษาพัฒนาการที่เกิดขึ้นให้คงอยู่ต่อไป

ปัจจุบันวารสารยังคงเผยแพร่บทความทั้งที่จัดโครงสร้างตามรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ โดยบทความตามรูปแบบ “วิชาการรับใช้สังคม” มีประมาณ 1 ใน 4 ของบทความที่เผยแพร่ การจัดโครงสร้างบทความที่เน้นการเปลี่ยนแปลงและประโยชน์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่มากกว่าการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ทำให้ผลงานพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม และงานวิจัยแบบ ABC มีความโดดเด่นขึ้น กองบรรณาธิการจึงสนับสนุนให้ผู้เขียนจัดทำต้นฉบับตามรูปแบบ “วิชาการรับใช้สังคม”

รศ. ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล บรรณาธิการ

ชื่อไฟล์
abcjournal10-5-61E.Zip


ขนาดไฟล์
15.0 MB


  ( 734 )  ครั้ง